วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

   บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

วันอังคารที่18สิงหาคม2563

เวลา 08.30-12.30น.



      เนื้อหาที่เรียน

-พัฒนาการ-

คือ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นตอน การเรียนรู้ของเด็ก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น เด็กสามารถเข้าใจได้ สามารถอธิบายในสิ่งที่ตัวเองกระทำอยู่

-วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้-

ออกแบบจัดประสบการณ์ ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กและมีความเหมาะสม ลงมือกระทำได้ กายสัมผัสทั้ง5

      วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงหรือ?

-มีทั้งจริงและไม่จริง จริง ก็คือถ้าครูผู้สอน ห่วงแต่จะอัดความรู้ให้เด็กโดยไม่สนว่าจะเหมาะกับวัยก็จะเป็นยาขมได้ 

-ไม่จริงก็คือ ต้องนำเรื่องใกล้ๆตัวของเด็กนั้นมาเป็นการเรียนทำให้เด็กสนใจและเหมาะสมกับวัย

     ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?

-ต้องเรียนเกี่ยวกับสิ่งรอบๆของตัวของเด็กและสามารถเชื่อมโยงได้

    ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างไร

-นำสิ่งที่สอดคล้องและใกล้ตัวเด็ก

    คำศัพท์

1.Development=พัฒนาการ

2.Absorb=ซึมซับ

3.Accommodation=การปรับโครงสร้าง

4.Experience=การจัดประสบการณ์

5.Assimilation=การซึมซับ การดึงดูด


     การประเมิน

ประเมินอาจารย์:อาจารย์แนะนำได้ดีและอธิบายได้อย่างเข้าใจและชัดเจนมาก

ประเมินเพื่อน:เพื่อนก็ตั้งใจเรียนดี มีการจำบันทึก

ประเมินตนเอง:ตั้งใจเรียนแต่อาจจะมีจดบันทึกบ้างไม่จดบ้าง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

  บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

วันอังคารที่11สิงหาคม2563

เวลา 08.30-12.30น.





    เนื้อหาที่เรียน

  วันนี้อาจารย์ไปทำธุระ อาจารย์ฝากงานไว้ให้หา บทความวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิจัยวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิดีโอตัวอย่างวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และจัดทำสรุปลงบทบล็อกของตัวเอง

   

   การประเมิน

ประเมินอาจารย์:อาจารย์สั่งงานได้เข้าใจดีและครบถ้วน

ประเมินเพื่อน:เพื่อนตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินตนเอง:ทำงานตามที่รับมอบหมายได้อย่างเต็มที่


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

    บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

วันอังคาร ที่4 สิงหาคม 2563 

เวลา 08.30-12.30น.


 เนื้อหาที่เรียน

วันแรกที่เริ่มเจออาจารย์ อาจารย์ให้สรุปการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยลงในกระดาษและจับกลุ่มกันเพื่อส่งงานในกลุ่มLineพร้อมเช็คชื่อเข้าเรียน

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.Learning การเรียนรู้
2.Present นำเสนอ
3.Thinking การคิด
4.The analysis การวิเคราะห์
5.Research วิจัย

      การประเมิน

ประเมินอาจารย์:อาจารย์สอนและสั่งงานได้เข้าใจเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน:เพื่อนให้ความร่วมมือในการจัดกลุ่มและการเรียนได้อย่างดี

ประเมินตนเอง:ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอกอย่างเต็มที่


วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 วิจัยคณิตศาสตร์

 ชื่อเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่

1.ชื่อ:กมลรัตน์ กมลสุทธิ

2.อ้างอิงที่มา: Kamolrat_K.pdf

3.การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เป็นเวลา 5 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง โดยมีแผนการดำเนินการ ดังนี้ 

     1) นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มาทดสอบก่อน (Pretest)การจัด           ประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวการมอนเตสซอรี่กับเด็กปฐมวัยรายบุคคล จำนวน 12 คน ที่เป็นกลุ่ม         ตัวอย่างในการวิจัย จำนวน 15 ข้อ ข้อละ 3-4 นาที โดยประมาณคนละ 45-50 นาที

    2) ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยดำเนินการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่     ให้กับเด็กปฐมวัยรายบุคคลที่เป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน จำนวน 15 กิจกรรม ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนิน       การทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 5 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน วันละ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.00 น. - 11.00 น.     วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    3) เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองแล้วผู้วิจัยดำเนินการประเมินผลหลังการทดลอง (Posttest) ด้วยแบบประเมิน        ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นชุดเดียวกับที่ดำเนินการก่อนทดลองกับกลุ่ม        ตัวอย่างในการวิจัยเป็นรายบุคคล จำนวน 15 ข้อ

    4) ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการ         ทดลองโดยใช้การทดสอบของ The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test

4.ผลที่ได้:1)ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านการจำแนก การเรียงลำดับและการนับ

2)ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ

5.ดีอย่างไร:ให้เด็กได้เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เช่นการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ

 วิจัยวิทยาศาสตร์ 

เรื่องการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

1.ชื่อ:วณิชชา สิทธิพล

2.อ้างอิงที่มา: 30938_Wanitcha_S.pdf

3.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย–หญิง อายุระหว่าง 

4–5 ปี กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ห้องเรียน โรงเรียน 

วัดชำปางาม ่ (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 15 คน โดยมีขั้นตอนในการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลาย

ขั้นตอน ดังนี้

 1. เลือกนักเรียน 1 ห้องเรียนจากจำนวน 2 ห้องเรียน เนื่องจากเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการใกล้เคียงกัน

 2. สุ่มนักเรียนจำนวน 15 คน จากห้องเรียนในข้อ 1 โดยการจับสลากเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย


4.ผลที่ได้: เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรด้วยการสนทนา การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย หรือการใช้สื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและสร้างความพร้อมก่อนเข้าสู่กิจกรรม 

 ขั้นดำเนินการ 

 แนะนำส่วนผสม วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร พร้อมทั้งสร้างข้อตกลงเบื้องต้นในการเครื่องดื่มสมุนไพร จากนั้นเด็กเข้ากลุ่มกลุ่มละ 5 คน โดยเด็กมีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มก่อนที่จะเริ่มทำเครื่องดื่มสมุนไพร และลงมือปฏิบัติจริงในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร โดยในขั้นตอนนี้ ครูมีหน้าที่ในการแนะนำและกระตุ้นให้เด็กทักษะในการสังเกต จำแนก และชั่ง ตวง วัด เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ทุกคนแต่ละกลุ่มร่วมกันเก็บอุปกรณ์และทำความสะอาด

5.ดีอย่างไร:เด็กและครูร่วมกันสรุปขั้นตอนในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ทบทวนกระบวนการ

ในการทำเครื่องดื่มสมุนไพร โดยที่ครูใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการ

สังเกต จำแนก ชั่ง ตวง วัด มาสื่อความหมายข้อมูล

 ตัวอย่างสื่อการสอนคณิตศาสตร์

         ชื่อเรื่อง สื่อหยอดกระปุก บวก-ลบ เลขสำหรับเด็กปฐมวัย

1.ชื่อ: ครูโบว์

2.อ้างอิงที่มา: https://youtu.be/SSBj9aXK-Ug

3.ครูโบว์ใช้กระดุมและกล่องในการทำสื่อ และมีตัวเลขและสัญลักษณ์บวกลบ วิธีการเล่นคือให้วางตัวเลขไว้ด้านขวาและซ้ายและวางสัญลักษณ์บวกหรือลบไว้ตรงกลาง และให้เด็กหยอดกระดุมลงกล่องตามจำนวนตัวเลขตัวแรกก่อนและใส่กระดุมเพิ่มตามจำนวนตัวอีกข้างหนึ่งและเปิดกล่องมาให้เด็กนับจำนวนกระดุมที่ใส่ลงไป

4.ผลที่ได้:ให้เด็กได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านสื่อการสอนเพื่อทำให้เด็กสนใจ

5.ดีอย่างไร:เพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านการบวกและการลบของเด็กปฐมวัยเหมาะสำหรับเด็ก5ขวบ ต้องให้เด็กรู้จักตัวเลขและจำนวนก่อนถึงจะเล่นได้

 ตัวอย่างสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ 

      ชื่อเรื่อง สรุปวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากแหล่งโทรทัศน์ครู

1.ชื่อ:อาจารย์ สง่า ทรัพย์เฮง

2.อ้างอิงที่มา: http://fonnisakonin.blogspot.com/2014/12/blog-post_9.html?m=1

3.การสอนเรื่องขวดประดาน้ำ โดยใช้สื่อปลอกปากกาถ่วงลอยในขวดน้ำดื่ม แสดงการจม การลอยของมวลปลอกปากกา เด็กจะเกิดการสนใจและมีความสนุกสนานใจการเรียนและเด็กก็จะได้เปรียบเทียบกับเรือดำน้ำ การลอยของไข่ไก่ในตัวแปรต้นที่เป็นสารละลายเข้มข้นแตกต่างกัน โดยครูมีการตั้งคำถาม ให้เด็กคิดและทดลองเด็กก็จะหาวิธี และหาคำตอบให้ครู

4. ผลที่ได้รับ: เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว

5.ดีอย่างไร:วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย

 บทความคณิตศาสตร์

     ชื่อเรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.ชื่อ:นางสาว กานต์ธีรา สมรัตน์

2. อ้างอิงที่มา: https://kantirafai1998.blogspot.com

3.ให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านการนำสิ่งของมาให้นับและสอนให้เข้าใจการบวกการลบเลขที่ง่ายๆก่อนแล้วค่อยพัฒนาไปตามวัยของเด็ก

4.ผลที่ได้:คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญกับการเรียนถ้าอยากให้ลูกได้คะแนนสูงๆ เพื่อต่อยอดในการสอบไล่ เปลี่ยนระดับชั้นเรียนในอนาคต เป็นคะแนนที่จะช่วยให้ลูกเลือกเรียนในห้องเรียน และสาขาที่ลูกน้อยปรารถนา 

5.ดีอย่างไร:เป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน

 บทความวิทยาศาสตร์ 

    ชื่อเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science for Early Childhood) 

1.ชื่อ: บุญไทย แสนอุบล

2.อ้างอิงที่มา: http://onphusa.blogspot.com/2015/08/blog-post.html?m=1

3.การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมิใช่หมายถึงสาระทางเคมี ชีววิทยา แต่เด็กปฐมวัยนั้นจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นหลักสำคัญ4 หน่วย ดังนี้

     หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว

     หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการรับรู้

     หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง

     หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการแยกประเภท

4. ผลที่ได้:  1.ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่มี

                   2.ให้เด็กได้ใช้ประบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง

                   3.กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความสนใจและเจตคติของเด็กให้พบ

                  4.ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้น

5. ดีอย่างไร:วิทยาศาสตร์คือ การสร้างให้เด็กมีนิสัยในการค้นคว้า การสืบค้น และการเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว รู้จักการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์ โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์และ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

นางสาว เหมือนฝัน ศิริพันธ์ เลขที่ 5

 บันทึกการเรียนรู้ที่ 15  วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลา08.30-12.30 น. เนื้อหาที่เรียน  -อาจารย์ให้จับกลุ่ม 8 คน แล้วไปซื้อของมาทำอาหารภา...